องคมนตรีติดติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่จังหวัดเชียงราย

424819375 785171616990778 8524073180115625768 n

 

424921831 785170130324260 3955562952509126219 n

424923239 785171760324097 8666463119255856755 n

 

         วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.10 น. นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ภาคเหนือ นายศุภรัชต์ อินทราวุธ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รักษาราชการแทน รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะอนุกรรมการฯ เดินทางไปติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยมี นายวัชระ เสือดี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) กรมชลประทาน พร้อมด้วย นายนพดล น้อยไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 2 นายทวีชัย โค้วตระกูล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงราย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อบรับในการลงพื้นที่ติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โครงการจัดการน้ำสนับสนุนโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริบ้านห้วยหญ้าไซ ตำบลป่าแดด ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงบ้านปางขอน ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
 
โครงการจัดการน้ำสนับสนุนโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านห้วยหญ้าไซ ตำบลป่าแดด ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เกิดขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณ เมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2545 ทรงทอดพระเนตรโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ บ้านอาข่า (เก่า) ตำบลป่าแดด ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และทรงรับทราบถึงปัญหาพื้นที่การเกษตรที่จัดสรรให้กับราษฎรในโครงการที่ขาดแคลนน้ำในการทำนาอีก 4 ครอบรัว ต่อมาในปี พ.ศ.2546 โครงการชลประทานเชียงราย สำนักงานชลประทานที่ 2 ได้ดำเนินการก่อสร้างฝายทดน้ำ จำนวน 2 แห่ง และก่อสร้างถังพักน้ำขนาด 30 ลูกบาศก์เมตร สำหรับพื้นที่ที่ยังส่งน้ำไม่ทั่วถึง เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบการแพร่กระจายน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรเดิม ที่มีระบบส่งน้ำด้วยท่อเพียงอย่างเดียว ซึ่งราษฎรในพื้นที่บ้านห้วยหญ้าไซ ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำแห่งนี้ในการอุปโภคบริโภค อีกทั้งใช้เป็นแหล่งน้ำสนับสนุนแปลงทดลองการเกษตรกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานีฯ และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 350 ไร่
 
จากนั้น องคมนตรีและคณะ ได้เดินทางไปยังโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงบ้านปางขอน ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งโครงการชลประทานเชียงราย สำนักงานชลประทานที่ 2 ได้ดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านต่างๆ ของสถานีฯและราษฎรในพื้นที่ ตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน โดยดำเนินการก่อสร้างฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาว 10.00 เมตร ความสูง 2.00 เมตร พร้อมระบบส่งน้ำ จำนวน 1 แห่ง ท่อความยาวส่งน้ำรวม 3,830 เมตร และถังพักน้ำขนาดความจุ 150 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 8 แห่ง เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสนันสนุนแปลงทดลองการเกษตรรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานีฯ และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 500 ไร่ อีกทั้งเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ตำบลปางขอน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย