ผู้แทน THAICID เข้าร่วมการประชุมคณะทำงาน (Working Groups: WGs) ในการประชุมมนตรีฝ่ายบริหารระหว่างประเทศครั้งที่ 74 ณ เมืองวิสาขปัตนัม สาธารณรัฐอินเดีย

 

 

399073942 734549418719665 3121461534859345096 n

399219935 734549482052992 1615485451043618991 n

 

 

 

399219952 734549425386331 8816586733779036301 n

398192046 734549462052994 6071738522833181694 n

 

 

        วันนี้ 5 พฤศจิกายน 2566 อธิบดีกรมชลประทานในฐานะประธานคณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย (Thai National Committee on Irrigation and Drainage: THAICID) ได้มอบหมายให้ ดร.วัชระ เสือดี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการ THAICID และประธานคณะอนุกรรมการ INWEPF Thailand พร้อมด้วยนายชัยวัฒน์ ปรีชาวิทย์ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ THAICID นายสาธิต มณีผาย ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพัฒนาการชลประทาน ประธานคณะทำงานด้านวิชาการ THAICID และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมมนตรีฝ่ายบริหารระหว่างประเทศครั้งที่ 74
ในวันนี้เป็นการประชุมคณะทำงาน (Working Groups) ที่ผู้แทนของ THAICID เป็นสมาชิกอยู่ ดังนี้
 
- Working Group on Water Food Energy Nexus (WG-WEF_N)
- Asian for Regional Working Group (ASRWG)
- Working Group on Adaptive Flood Management (WG-AFM)
โดยประธานของแต่ละคณะทำงานเป็นผู้รายงานการดำเนินงานต่างๆ ได้แก่ การเสนอรายชื่อสมัครเป็นคณะทำงานของประเทศสมาชิก การพิจารณาสถานะของสมาชิกคณะทำงาน การพิจารณาแผนการดำเนินงานของคณะทำงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการชลประทานและการระบายน้ำ (ICID) การตีพิมพ์หนังสือของคณะทำงาน การปรับปรุง Multilingual Technology Dictionary (MTD) การอัพเดทเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคณะทำงาน การจัดการสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ (Webinar) การจัดทำข้อมูลสำหรับการลงทะเบียนโครงการชลประทานโลก และการปรับโครงสร้างคณะทำงานต่างๆ
 
สำหรับการลงทะเบียนโครงการชลประทานโลก (Register on World Irrigation and Drainage Schemes: WI&DS) ทาง ICID ได้เชิญชวนให้ประเทศสมาชิกร่วมลงทะเบียนโครงการชลประทานที่มีอยู่ทั่วโลกลงในเว็บไซต์ โดยให้ประเทศสมาชิกลงทะเบียนโครงการชลประทานที่มีพื้นที่มากกว่า 5,000 เฮคแตร์ (31,250 ไร่) THAICID ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่าได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลโครงการชลประทานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานชลประทานที่ 1-17 กรมชลประทานที่เข้าเกณฑ์ ส่งให้ทาง ICID เรียบร้อยแล้วเพื่อพิจารณาลงในเว็บไซต์ต่อไป ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ช่วยประเทศสมาชิกให้เข้าใจแนวโน้มระดับโลกในการพัฒนาและการดำเนินงานของโครงการชลประทานและเป็นเครื่องมือให้แก่นักวางแผน นักพัฒนา และนักวิจัยในด้านการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในประเทศของตนต่อไป