งานสัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ หรือ THAICID-NWIKS ประจำปี 2566 เปิดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขับเคลื่อนงานชลประทานผ่านกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน (BCG Model) มุ่งความเป็นกลางทางคาร์บอน พร้อมจัดแสดงนิทรรศการและการสาธิตเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากเครือข่ายกว่า 25 หน่วยงาน
เช้าวันนี้ (4 ก.ค.66) ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะนายกสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “การขับเคลื่อนงานชลประทานสนับสนุนกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน (BCG Model)” พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมชลประทาน คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน เข้าร่วมการเสวนาดังกล่าว ซึ่งเป็นกิจกรรมภายในงานสัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ หรือ THAICID-NWIKS ประจำปี 2566 ณ หอประชุมชูชาติ กำภู สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
การเสวนาในครั้งนี้ จัดโดย สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำ (THAICID) คณะอนุกรรมการด้านน้ำและระบบนิเวศของนาข้าว (INWEPF) และกรมชลประทาน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรผู้มีชื่อเสียง และนำไปประยุกต์ใช้
ในการขับเคลื่อนงานชลประทานภายใต้แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อความยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) โดยมุ่งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในอนาคต
สำหรับภาคเช้าเริ่มต้นด้วยการบรรยายพิเศษ กรณีตัวอย่างการขับเคลื่อนพลังงานสะอาดเพื่อสนับสนุน BCG Model โดย

ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรมและก่อสร้างโรงงานโรงงานไฟฟ้า การไฟฟ้าการผลิตแห่งประเทศไทย
ต่อด้วยการเสวนาวิชาการหัวข้อ “การขับเคลื่อนงานชลประทานผ่านกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน (BCG Model)” ร่วมเสวนาโดย

ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเกษตร

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และสรุปประเด็นโดย ดร.ทรงศักดิ์ ภัทราวุฒิชัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ส่วนในภาคบ่ายเป็นการเสวนากรณีศึกษา Success Case of BCG Model โดย

ประธาน Young Smart Farmer จังหวัดราชบุรี

นายกสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก
จากนั้นปิดท้ายด้วยการสรุปประเด็น โดย นางสาววรณัน โนราช ส่วนวิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรม สำนักวิจัยและพัฒนา
ทั้งนี้ ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมรับฟังการเสวนาวิชาการ ชมนิทรรศการ การสาธิตเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นผลงานจากเครือข่ายกว่า 25 หน่วยงาน พร้อมทั้งเลือกซื้อสินค้าเกษตรและสินค้า OTOP ภายในงานสัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ หรือ THAICID-NWIKS ประจำปี 2566 ซึ่งจะจัดไปจนถึงวันที่ 7 ก.ค.นี้