ชป.จับมือ กปน. เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสัปดาห์นี้

 

 
image-1
IMAGE-2
 
 
 
 
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) กรมชลประทาน นายปกรณ์ สุตสุนทร ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษา อุทกวิทยา เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการระบายน้ำ(กทม.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่

นายปกรณ์ สุตสุนทร ผู้เชียวชาญด้านที่ปรึกษาอุทกวิทยา เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (14 ก.พ.65) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 53,057 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของความจุอ่างฯรวมกัน มีน้ำใช้การได้ 29,120 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 12,173 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 12,582 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 5,886 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 3,333 ล้าน ลบ.ม. สำหรับผลการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ปี 2564/65 ทั้งประเทศเพาะปลูกข้าวไปแล้ว 6.97 ล้านไร่ เกินแผนที่วางไว้ร้อยละ 8 (แผน 6.41 ล้านไร่) เฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา เพาะปลูกไปแล้ว 4.26 ล้านไร่ เกินแผนที่วางไว้ร้อยละ 51 (แผน 2.81 ล้านไร่) ด้านสถานการณ์ค่าความเค็ม ในแม่น้ำสายหลัก ปัจจุบัน(14ก.พ.65) อยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากกรมชลประทาน ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมปรับการระบายน้ำจากพื้นที่ตอนบนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จึงสามารถทำให้ควบคุมค่าความเค็มให้อยู่ให้เกณฑ์ที่กำหนดได้ แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงอีกครั้ง ในช่วงวันที่ 15 – 18 ก.พ.65 นี้ โดยจะร่วมบูรณาการกับการประปานครหลวง (กปน.) ทำปฏิบัติการ Water Hammer Operation ในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อควบคุมคุณภาพให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดต่อไป