

รองอธิบดีกรมชลประทาน (นายประพิศ จันทร์มา) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพิจารณาการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 คณะที่ 1.2 โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล
นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การพิจารณาแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580) ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ ก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในส่วนของกรมชลประทาน มีเป้าหมายตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ในการสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต สำหรับในปีงบประมาณ 2565 สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 606,416 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ถึง 377,615 ครัวเรือน รวมถึงการร่วมบูรณาการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การบูรณาการเชิงพื้นที่กับทุกภาคส่วนเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาด้านทรัพยากรน้ำเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ การบูรณาการงานโครงการที่ต้องทำร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และมีการกำหนดโครงการได้อย่างชัดเจน ตลอดจนการบูรณาการเชิงนโยบาย หรือประเด็นสำคัญที่หน่วยงานต้องร่วมกันดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย เช่น การแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย คุณภาพน้ำ พื้นที่เศรษฐกิจ และเศรษฐกิจแปลงใหญ่ เป็นต้น
นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การพิจารณาแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580) ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ ก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในส่วนของกรมชลประทาน มีเป้าหมายตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ในการสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต สำหรับในปีงบประมาณ 2565 สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 606,416 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ถึง 377,615 ครัวเรือน รวมถึงการร่วมบูรณาการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การบูรณาการเชิงพื้นที่กับทุกภาคส่วนเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาด้านทรัพยากรน้ำเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ การบูรณาการงานโครงการที่ต้องทำร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และมีการกำหนดโครงการได้อย่างชัดเจน ตลอดจนการบูรณาการเชิงนโยบาย หรือประเด็นสำคัญที่หน่วยงานต้องร่วมกันดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย เช่น การแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย คุณภาพน้ำ พื้นที่เศรษฐกิจ และเศรษฐกิจแปลงใหญ่ เป็นต้น