รองอธิบดีกรมชลฯ นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามแผนบรรเทาอุทกภัยเจ้าพระยาตอนล่าง

 

 
58576175 2943953845677636 397152889966952448 n
58704232 2943954725677548 2257902781824237568 n
 

 

 
58113445 2943954859010868 4564818016738476032 n
58608465 2943953962344291 9083510743302668288 n
 

 

รองอธิบดีกรมชลฯ นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามแผนบรรเทาอุทกภัยเจ้าพระยาตอนล่างเดินหน้าคลองระบายน้ำชัยนาท-ป่าสัก

 

วันนี้(2ก.ย.62)นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชนสัญจรลงพื้นที่ติดตามแผนบรรเทาอุทกภัยเจ้าพระยาตอนล่างเดินหน้าคลองระบายน้ำชัยนาท-ป่าสัก ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาช่องแค อ.ตาคลี จ.ชัยนาท

 

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า โครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก จังหวัดชัยนาท เป็น 1ใน 9 แผนบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยมีแผนการดำเนินการก่อสร้างคลองและปรับปรุงคลองเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่คือ คลองชัยนาท-ป่าสัก ร่วมกับคลองระบายป่าสัก-อ่าวไทย เพื่อช่วยเร่งการระบายน้ำหลากลงสู่ทะเลเร็วขึ้น ซึ่งกรมชลประทานได้ ดำเนินการสำรวจออกแบบผ่านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น การประชุมแนะนำเสนอรายละเอียดโครงการฯ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ โดยได้ว่าจ้างกิจการร่วมค้าออกแบบคลองชัยนาท-ป่าสัก ดำเนินการสำรวจออกแบบปรับปรุงคลองชัยนาท-ป่าสักเดิม ให้สามารถส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานในฤดูกาลปกติ และสามารถระบายน้ำในฤดูน้ำหลากได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีระยะเวลาการสำรวจออกแบบตั้งแต่เดือนตุลาคม2561จนสิ้นสุดกันยายน2562 นี้ องค์ประกอบโครงการประกอบด้วย 1.คลองส่งน้ำอนุศาสนันท์พร้อมอาคารประกอบ สามารถส่งน้ำได้สูงสุด 120 ลบ.ม.ต่อวินาที 2. คลองระบายชัยนาท-ป่าสัก พร้อมอาคารประกอบ สามารถระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลได้สูงสุด 930 ลบ.ม.ต่อวินาที นอกจากนี้ยังได้ออกแบบประตูระบายน้ำอีก 2 ได้แก่ ประตูระบาบน้ำปากคลองระบายชัยนาทป่าสัก และประตูระบายน้ำช่องแค พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อยใจแก่ประชาชนในพื้นที่ได้อีกด้วย

 

ทั้งนี้ หากโครงการฯ ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มการระบายน้ำของคลองชัยนาท-ป่าสัก จาก130 ลบ.ม./วินาที เป็น 930 ลบ.ม./วิ ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยลดผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และในอนาคตหากมีการพัฒนาครบทั้งระบบ คือ โครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก ร่วมกับการขุดคลองป่าสัก-อ่าวไทย รวมทั้งการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง จะสามารถช่วยเร่งระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลได้ถึง 1,000 ลบ.ม./วินาทีช่วยลดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยมากกว่า 3.48 ล้านไร่ นอกจากนี้ยังช่วยตัดยอดน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเข้าไปเก็บกักน้ำคลองได้ถึง 54 ล้าน ลบ.ม. สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ส่งเสริมเศรษฐกิจให้มั่นคงยั่งยืน//