กรมชลฯ ร่วมงานวันน้ำโลก ปี 2566 “ความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ”

373563643 696992459142028 4658241702667365339 n

373712148 696992385808702 1321541009409167002 n

 

373508043 696992492475358 1456874096005469522 n

373344168 696992519142022 8733615387819516155 n

 

          วันนี้ (1 กันยายน 2566) ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน เข้าร่วมกิจกรรม “ความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ” เนื่องในวันน้ำโลก ประจำปี 2566 พร้อมด้วย ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา นายปกรณ์ สุตสุนทร ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาอุทกวิทยา และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรม โดยมี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวแสดงความยินดีกับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และมอบนโยบายจากประเด็นรณรงค์เนื่องในวันน้ำโลก ประจำปี 2566 นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ห้องแคทลียา โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร
 
ในการนี้ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบเกียรติบัตรให้กับ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา เนื่องในโอกาสที่กรมชลประทานได้จัดแสดงนิทรรศการภายใต้หัวข้อ การบริหารจัดการชลประทาน โดยเกษตรกรมีส่วนร่วม (ด้านส่งน้ำและบำรุงรักษา) ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านน้ำที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่มีสำคัญภายในงานนี้อีกด้วย
 
สำหรับการจัดกิจกรรมเนื่องในวันน้ำโลก ประจำปี 2566 “Accelerating Change” หรือ “เร่งการเปลี่ยนแปลง” คือประเด็นสำคัญที่องค์การสหประชาชาติกำหนดเนื่องในวันน้ำโลก โดยรณรงค์ให้ทุกภาคส่วน “Be the change you want to see in the world.” หรือ “ร่วมกันเปลี่ยนแปลง สิ่งที่คุณ อยากเห็น ในโลกใบนี้” เพื่อให้ประเทศสมาชิกและพลเมืองร่วมกันเร่งการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านน้ำและสุขาภิบาล (SDG6 : Clean Water & Sanitation) โดยการจัดกิจกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสาร และร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างความตระหนัก ความร่วมมือ และพัฒนาแนวคิดด้วยพลังสร้างสรรค์ของเยาวชน เพื่อเชื่อมโยงความร่วมมือ พร้อมยกระดับการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนด้วยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ระหว่างหน่วยงานขององค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงทุกภาคส่วนของประเทศในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดการขยายผลการร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำต่อไป