องคมนตรี ติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี

484637492 1085604476945958 5417676283721208264 n

485366698 1085604436945962 677449973392618148 n

 

485092220 1085604556945950 5529074364798110874 n

485095160 1085604676945938 2445768818616438235 n

 

         วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 10.30 น. พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง และรองประธานกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมด้วยนายศุภรัชต์ อินทราวุธ รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) นายสัณฐิต พีรานนท์ ผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นายสิงหา ผจงกิจการ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 5 นายชาญวิชญ์ แฮนเกตุ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุดรธานี ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางไปยังห้องประชุมท่าอากาศยานทหารกองบิน 23 อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เพื่อรับฟังการรายงานแผนการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งความรุนแรงของการเกิดพายุลูกเห็บ ประจำปี 2568 และการสนับสนุนอากาศยานและพลุชิลเวอร์โอโอไดด์ (Agl) เพื่อใช้
 
สำหรับการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งความรุนแรงของการเกิดพายุลูกเห็บ ประจำปี 2568 พร้อมรับฟังสถานการณ์สภาพอากาศ และการพยากรณ์อากาศในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และจังหวัดอุดรธานี
ช่วงบ่าย องคมนตรี และคณะฯ เดินทางไปติดตามผลการดำเนินงานโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ตามที่นายคำผล บำรุง สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดหมากไฟ ขอพระราชทานโครงการก่อสร้างฝายทดน้ำห้วยคล้าย เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้สำหรับราษฎร ในการอุปโภคบริโภค และทำการเกษตรได้ตลอดปี ซึ่งอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายฯ มีสันทำนบดิน ยาว 155.00 เมตร กว้าง 6.00 เมตร และสูง 9.50 เมตร มีความจุที่ระดับเก็บกัก 838,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2551 สามารถส่งน้ำพื่อการเกษตร รวม 1,850 ไร่ และการอุปโภคบริโภค 128 ครัวเรือน โดยระยะเวลาที่ผ่านมา กรมชลประทานได้ซ่อมแซมและบำรุงรักษาโครงการมาโดยตลอด เช่น วางระบบกระจายน้ำ ซ่อมแซมทำนบดิน และระบบส่งน้ำ ให้สามารถใช้การได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ยังได้จัดตั้งกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ สร้างความสามัคคี และความเข้มแข็งให้แก่ราษฎรอีกด้วย