ชป. เปิดเวทีปฐมนิเทศฯ ปรับปรุงโครงการชลประทานปากพนังบน-ล่าง / ระโนด-กระแสสินธุ์

509432886 1159970946175977 8730973744490003234 n

502499048 1159969766176095 6613634049272731971 n

 

509430814 1159972059509199 2305978148162562001 n

508654549 1159969779509427 4243770721445483719 n

 

          วันนี้ (19 มิถุนายน 2568) นายเกื้อศักดิ์ ทาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านวางแผน) เป็นผู้แทนกรมชลประทาน ร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปากพนังบน-ล่าง และระโนด-กระแสสินธุ์ : เวทีที่ 3 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด-กระแสสินธุ์ โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน เข้าร่วมประชุมฯ โดยมี นายจิรวัตร์ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานฯ ณ ศาลาประชาคม อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
 
สำหรับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปากพนังบน-ล่าง และระโนด-กระแสสินธุ์ ทั้ง 3 โครงการดังกล่าว มีการใช้งานมาเป็นเวลานาน สภาพของคลองส่งน้ำ คลองระบายน้ำ ประตูระบายน้ำ และอาคารโครงสร้างต่างๆ เริ่มชำรุด ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมเพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพโครงการทั้งระบบ ทั้งอาคารองค์ประกอบต่างๆ ของระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำ การบริหารจัดการน้ำ การเพิ่มศักยภาพของกลุ่มผู้ใช้น้ำ และการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนจากการขาดแคลนน้ำ ปัญหาน้ำท่วม และปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวเนื่อง
 
ทั้งนี้ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด-กระแสสินธุ์ รับผิดชอบ 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการสูบน้ำทุ่งระโนด โครงการคันกั้นน้ำกระแสสินธุ์ โครงการประตูระบายน้ำปากระวะ โครงการฝายระวะ และโครงการคลองพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 475,250 ไร่ ส่งน้ำชลประทานได้ทั้งหมด 238,480 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และอำเภอหัวไทร (บางส่วน) ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งกรมชลประทาน ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ เพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ
 
โดยได้มีการจัดประชุมปฐมนิเทศโครงการฯ ทั้งหมด 3 เวที เป็นรายพื้นที่โครงการฯ ระหว่างวันที่ 17 - 19 มิถุนายน 2568 เพื่อนำเสนอข้อมูลโครงการฯ เหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์ แนวทางการศึกษาความเหมาะสม และแนวทางเบื้องต้นในการปรับปรุงโครงการ พร้อมรับฟังสภาพปัญหา ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลและผลการประชุมในครั้งนี้ ไปใช้ประกอบ ในการศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและชุมชนต่อไป