ชป.นำคณะสื่อมวลชน ติดตามงานพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ EEC

428669809 796980955809844 2663927185396051372 n

428668432 796983549142918 8385321363101017188 n

 

428668432 796983549142918 8385321363101017188 n

428670990 796983642476242 4035230158380817955 n

 

        วันนี้ (21 ก.พ. 2567) ที่ห้องประชุมศูนย์ฝึกกีฬาเรือพายราชนาวี อ.บ้านฉาง จ.ระยอง นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ พร้อมด้วย นายขจร ใบพลูทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสำรวจ สำนักสำรวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา เจ้าหน้าที่สำนักบริหารโครงการ และผู้เกี่ยวข้อง นำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่ไปติดตามความคืบหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดอาคารกักเก็บน้ำในลำน้ำคลองบางไผ่และสาขา ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
 
นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการศึกษาฯ เพื่อทบทวนศักยภาพของปริมาณน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่โครงการฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ รวมทั้งศึกษาหารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคลองบางไผ่และสาขา เพื่อเก็บกักน้ำ ระบายน้ำ การเติมน้ำลงสู่ใต้ดิน และการใช้ประโยชน์เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ปัจจุบันมีความคืบหน้าการดำเนินโครงการฯตามลำดับ โดยเมื่อเดือนมกราคม 2567 ที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุมปฐมนิเทศ เพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนแผนดำเนินงานโครงการศึกษาฯ ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
 
สำหรับผลการศึกษาฯ ได้มีการออกแบบเบื้องต้นในการพัฒนาทางน้ำธรรมชาติ (คลองบางไผ่และสาขา) ในลักษณะของการปรับปรุงทางน้ำ และแหล่งเก็บกักน้ำ เพื่อใช้ประโยชน์เป็นระบบระบายน้ำหลักและป้องกันการเกิดน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่ม 2 ฝั่งลำน้ำ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากปริมาณน้ำหลากอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังจะเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้อีกทางหนึ่งด้วย การก่อสร้างออกแบบเป็นอาคารบังคับน้ำลักษณะขั้นบันได 2 จุด และอาคารประกอบ สามารถกักเก็บน้ำต้นทุนได้ประมาณ 2 - 4 ล้านลูกบาศก์เมตร
 
จากนั้น ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ไปที่อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี เพื่อติดตามความก้าวหน้า “โครงการศึกษาวิจัยต้นทุนน้ำ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง” เป็นพื้นที่ศักยภาพและศูนย์กลางของเศรษฐกิจหลักแห่งหนึ่งของประเทศ และมีการส่งเสริมพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมและการลงทุนระดับประเทศไทยและภูมิภาค ในสภาวะที่ปริมาณน้ำต้นทุนเท่าเดิมแต่ความต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งบริบทความไม่แน่นอนจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้การบริหารและจัดสรรน้ำให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นธรรม ทั่วถึง และยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เป็นความท้าทายสำคัญ กรมชลประทานจึงจำเป็นต้องศึกษาองค์ประกอบโครงสร้างต้นทุน ประเมินต้นทุนการจัดการน้ำอุปทาน และการกำหนดอัตราค่าน้ำชลประทานอย่างเหมาะสม
 
เมื่อศึกษาแล้วเสร็จ จะทำให้มีการกำหนดอัตราราคาค่าน้ำที่เหมาะสม สะท้อนและครอบคลุมต้นทุนที่แท้จริง
มีมาตรฐานและทำให้ประเทศไทยมีแนวทางในการใช้โครงสร้างต้นทุนการจัดการน้ำอุปทานและอัตราค่าน้ำชลประทานพร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับแผนหลักการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุน รองรับการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ EEC ได้อย่างยั่งยืน