ชป.ร่วมขับเคลื่อนมุกดา smart farm 349 model

473540378 1010317737809497 1508653670032198429 n

473582249 1010317584476179 6945444289203614670 n

 

473664962 1010317871142817 6746470192961881462 n

473541355 1010318091142795 6862359842659418874 n

 

        วันนี้ (14 มกราคม 2568) ที่อ่างเก็บน้ำห้วยขี้เหล็ก อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร นายสุริยพล นุชอนงค์ อธิบดีกรมชลประทาน มอบหมายให้ นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมลงแขกดำนาปรังเปียกสลับแห้ง ฤดูแล้ง 2567/68 ร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขยายผลทำการเกษตรสมัยใหม่ ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงในพื้นที่ชลประทานจังหวัดมุกดาหาร
 
ทั้งนี้ โครงการชลประทานมุกดาหาร ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการขยายผลมุกดา smart farm 349 model ด้วยการบูรณาการ การทำนาเปียกสลับแห้ง การปลูกพืชไร่ พืชสวนและพืชเศรษฐกิจ ขยายผลให้เกษตรกรในพื้นที่ชลประทาน 21 อ่างฯ จำนวน 49,720 ไร่ โดยได้กำหนดแนวทางในการบูรณาการร่วมกัน เพื่อสร้างผลสำเร็จเชิงประจักษ์ของต้นแบบมุกดา smart farm 349 model ให้เป็นตัวอย่างในการขยายผลไปยังอ่างเก็บน้ำต่างๆ มีเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ 15,000 ไร่ ภายใน 3 ปี เพื่อตอบสนองนโยบายมุ่งสร้างรายได้ให้พี่น้องเกษตรกรเพิ่มขึ้น 3 เท่าภายใน 4 ปี ตามหลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 
อนึ่ง จากต้นแบบสู่การขยายผล โดยการบูรณาการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายมุกดาหารโมเดล ซึ่งในฤดูแล้งปี 2567/68 นี้ ได้มีการขยายผลการทำการเกษตรสมัยใหม่ทั้งหมด 6 อ่างฯ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยมุก อ่างเก็บน้ำห้วยไร่ 2 อ่างเก็บน้ำห้วยหมากไฟ อ่างเก็บน้ำห้วยหินลาด อ่างเก็บน้ำห้วยชะโนดและอ่างเก็บน้ำห้วยขี้เหล็ก คาดว่าในช่วงฤดูแล้งของ 6 อ่างฯดังกล่าว จะกระตุ้นการขยายผลในปีต่อๆไป โดยมีปัจจัยของความสำเร็จอยู่ที่การบูรณาการร่วมมือกันของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ช่วยกันขับเคลื่อนภายใต้ความมั่นคงและเข้มแข็งของกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ชลประทาน เพื่อให้เกิดความอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ตามนโยบายของ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์