รมว.นฤมล จับมือ 2 รมช.เกษตร ฯ มอบนโยบาย ย้ำสานต่อ 9 นโยบาย สู่เกษตรทันสมัย เกษตรกรต้องอยู่ดีทรัพยากรเกษตรยั่งยืน

459940587 924911586350113 79300808137415883 n

459681581 924911596350112 8532841668592171962 n

460166799 924911599683445 6529055726001021456 n

 

459724599 924911659683439 788438221226690923 n

459904849 924911673016771 1334158827022713115 n

459995802 924911656350106 6748761783700956582 n

 

        เช้านี้ (16 กันยายน 2567) ที่ห้องประชุมธารทิพย์ 01 อาคารหม่อมหลวง ชูชาติ กำภู กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพฯ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายขับเคลื่อนงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หลังเข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน และรองอธิบดีกรมชลประทานทั้ง 4 คน ได้แก่ นายสุริยพล นุชอนงค์ นายเดช เล็กวิชัย นายวิทยา แก้วมี และนายฐนันดร์ สุทธิพิศาล เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน พร้อมนี้ได้ประชุมผ่านระบบ Video conference เพื่อให้มีการรับฟังอย่างทั่วถึง
.
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 โดยนโยบายด้านการเกษตร รัฐบาลยังคงเน้นยกระดับให้เป็นเกษตรทันสมัย ด้วยแนวคิด “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะยึดหลักการทำงาน คือ พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และเน้นการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการเกษตรและวิสัยทัศน์ Ignite Thailand โดยจะยังคงสานต่อ 9 นโยบายสำคัญ ให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ได้แก่
.
1.เน้นการสร้างวิธีการทำงานสู่การปฏิบัติ อาทิ เพิ่มประสิทธิภาพศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ขยายครอบครัวเกษตร บูรณาการงานอย่างเข้มแข็ง
2.เร่งรัดการจัดที่ดินทำกินให้กับเกษตรกร
3.บริหารจัดการน้ำ ให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อการเกษตร รวมถึงบริหารจัดการทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง และการเติมน้ำในเขื่อน
4.ยกระดับสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง ด้วยการต่อยอดโครงการ 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง
5.ยกระดับศักยภาพของเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง
6.จัดการทรัพยากรทางการเกษตร อาทิ ทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วย BCG โดยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับนโยบาย/มาตรการการค้าด้านสิ่งแวดล้อมโลก เช่น Carbon Credit โดยทำการเกษตรที่ลดภาระต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการแก้ปัญหา PM 2.5
7.รับมือกับภัยธรรมชาติ ต้องมีการวางแผนและมีมาตรการเชิงรุก เพื่อรับมือตั้งแต่การป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟู เมื่อประสบเหตุภัยแล้ง หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติทุกชนิด เช่น มาตรการเยียวยาและ/หรือมาตรการฟื้นฟูสำหรับเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย เป็นต้น
8.สานต่อการทำสงครามสินค้าเกษตรเถื่อน
9.อำนวยความสะดวกด้านการเกษตร อาทิ ผลักดันนโยบายตลาดนำ นวัตกรรมเสริมเพิ่มรายได้
.
ทั้งนี้ นโยบายหลัก 9 ด้าน ของกระทรวงเกษตรฯ นับเป็นการสานต่อนโยบายเดิม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรไทยอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นที่จะพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยในด้านการบริหารจัดการน้ำ ได้เน้นย้ำให้บริหารจัดการน้ำเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งด้านการเกษตร การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานมุ่งขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพ สร้างผลงานได้อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม ร่วมกันผลักดันและพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน