วันนี้ (13 มิ.ย. 67) ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลนวัตกรรมดีเด่น กรมชลประทาน ประจำปี 2567 (RID Innovation Award 2024) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งตามแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ของกรมชลประทาน เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนา ยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ ด้วยการใช้ระบบดิจิทัลและนวัตกรรมในการจัดการบริการสาธารณะที่ตรงกับความต้องการของประชาชน ตามวิสัยทัศน์ของกรมชลประทาน และแนวทางการดำเนินงานภาครัฐ 4.0 โดยมีผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่น กรมชลประทาน ประจำปี 2567 (RID Innovation Award 2024) จำนวน 10 ผลงาน ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ ชื่อผลงาน “Steel Hat” โดย นายอนุชา ตรานุชรัตน์ หัวหน้าฝ่ายออกแบบระบบชลประทานที่ 4 สำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ชื่อผลงาน “ชลพิศ 121” โดย นายพีรพล กมลรัตน์ นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายชำนาญการ สำนักสำรวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ชื่อผลงาน “ชุดขับเปิด-ปิดบานระบายแบบเคลื่อนที่ได้ (Hydraulic System)” โดย นายสัญชัย บุราสิทธิ์ วิศวกรเครื่องกลชำนาญการ สำนักเครื่องจักรกล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ชื่อผลงาน “การพัฒนาโปรแกรม CDA เพื่อช่วยคาดการณ์ภูมิอากาศ”
โดย นางสาวอนัญญา ตังคเศรณี วิศวกรชลประทานปฏิบัติการ สถาบันพัฒนาการชลประทาน

รางวัลชนะเลิศ ชื่อผลงาน “A.I.S.I (Artificail Intelligence Structural Inspection)” โดย นางสาวสโรชา ช่วงชู
หัวหน้าฝ่ายโครงการพิเศษ สำนักงานชลประทานที่ 12
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ชื่อผลงาน “เครื่องวัดระดับน้ำทางไกลเคลื่อนที่แบบ Real time” โดย นายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ สำนักงานชลประทานที่ 1
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ชื่อผลงาน “ระบบแจ้งซ่อม ออนไลน์ (Repair Online System)” โดย นายสมพงษ์ สุนสนาม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 3 ชื่อผลงาน “รายงานผลการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภค ผ่านระบบ Line OA” โดย นางสาวขวัญธนา วรฤทธิ์ นักวิชาการตรวจสอบภายใน กลุ่มตรวจสอบภายใน

รางวัลชนะเลิศ ชื่อผลงาน “ระบบจัดเก็บไฟล์ออนไลน์ด้วย NAS” โดย นายอนุชิต ยอดใจยา นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ สำนักงานชลประทานที่ 2
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ชื่อผลงาน “แห้วจูด: พืชเศรษฐกิจในโซนน้ำเค็ม” โดย นายปัญญพงษ์ สงพะโยม
หัวหน้าฝ่ายขยายผล ศูนย์อำนวยการและประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเรื่องจากพระราชดำริ สำนักงานชลประทานที่ 15