รมว.ธรรมนัส ติดตามแผนพัฒนาแหล่งน้ำจังหวัดพะเยา

427957325 791050133069593 334102805776751871 n

428036586 791051226402817 3388965009350857743 n

 

426831039 791049816402958 6821049224876760334 n

426629119 791060339735239 6868845532409976794 n

 

        วันนี้ (11 กุมภาพันธ์ 2567) ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ลงพื้นที่ติดตามการพัฒนากว๊านพะเยา โดยมี นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน นายสุริยพล นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมชลประทาน นายนพดล น้อยไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 2 และ นายปาโมกข์ ปิงเมือง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพะเยา บรรยายสรุปแผนพัฒนากว๊านพะเยา พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้นำชุมชน เพื่อนำมาปรับปรุงแผนพัฒนากว๊านพะเยาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ใส อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
 
สำหรับแผนพัฒนากว๊านพะเยา กรมชลประทาน ได้วางแผนดำเนินการขุดลอกตะกอนดินรอบกว๊านพะเยา รวมทั้งขุดแนวร่องเดิมของกว๊านพะเยาให้กว้างขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำ และเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อสนับสนุนการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ตลอดจนรองรับการท่องเที่ยวในอนาคต อีกทั้งยังช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูน้ำหลาก นอกจากนี้ ยังมีแผนเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำพื้นที่ตอนบนของกว๊านพะเยา อาทิ การขุดลอกอ่างเก็บน้ำและลำน้ำต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความจุในการเก็บกักน้ำ รวมทั้งแผนเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำและระบบกระจายน้ำกว๊านพะเยา อาทิ การก่อสร้างฝายทดน้ำและสถานีสูบน้ำพร้อมระบบส่งน้ำ เพื่อสร้างระบบควบคุมและกระจายน้ำสู่พื้นที่รับประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง ขณะเดียวกัน ยังได้วางแผนปรับปรุงภูมิทัศน์ และสร้างถนนรอบกว๊านพะเยา พร้อมสะพานเชื่อม เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้สามารถมาพักผ่อนหย่อนใจและปั่นจักรยานรอบกว๊านพะเยาได้อีกด้วย
 
จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ได้เดินทางต่อไปยัง เทศบาลตำบลบ้านเหล่า เพื่อติดตามการพัฒนาหนองเล็งทราย และแหล่งน้ำอื่นๆ ในพื้นที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
สำหรับแผนพัฒนาหนองเล็งทราย กรมชลประทาน ได้วางแผนพัฒนาออกเป็น 6 ระยะ ซึ่งดำเนินการปรับปรุงและฟื้นฟูมาตั้งแต่ปี 2563 อาทิ การขุดลอก การก่อสร้างฝายพับได้ เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำ และปัจจุบันกำลังดำเนินการตามแผนในระยะที่ 5-6 อาทิ การก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า พร้อมระบบกระจายน้ำ เป็นต้น หากดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนทั้งหมด จะช่วยให้มีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น จาก 9 ล้าน ลบ.ม. เป็น 23.73 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์กว่า 10,000 ไร่