กรมชลประทาน ร่วมพิธีวางพานพุ่ม น้อมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 9 เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2566

400832627 739619371546003 2431145334732643116 n

400417080 739620711545869 1686719295087134583 n

 

400611499 739620658212541 5053856979802595060 n

400806814 739620878212519 8700809046868952931 n

 

          วันนี้ (14 พ.ย. 66) นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2566 ครบรอบปีที่ 68 โดยมี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และส่วนราชการในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมงาน ณ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
 
สำหรับ “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” มีจุดเริ่มต้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำรัสที่จะคิดค้นวิจัยหาวิธีการทำฝนหลวง เพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนที่ประสบภัยแล้ง รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนน้ำของประเทศ จนเกิดเป็นโครงการฝนหลวงสืบมาจนปัจจุบัน คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อจารึกไว้เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ซาติไทยและเป็นวันสำคัญชองปวงชนชาวไทยที่จะได้ร่วมกันแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบิดาแห่งฝนหลวง
 
ทั้งนี้ รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้เยี่ยมชมภายในงานซึ่งมีการจัดแสดงงานวิจัยโครงการฝนหลวง ได้แก่ โครงการวิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพ่นสารจากพื้นสู่ก้อนเมฆ หรือ Ground Based Generator Technology เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวงสำหรับพื้นที่ เขตเงาฝนบริเวณภาคเหนือของประเทศ และโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศ ที่ใช้เพื่อสนับสนุนการทำฝนหลวงในพื้นที่ที่เครื่องบินทำฝนหลวงเข้าถึงลำบาก ตลอดจนเยี่ยมชมหอเฉลิมพระเกียรติพระบิดาแห่งฝนหลวง ภายในมีการจัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวความเป็นมาของฝนหลวง ขั้นตอนการทำฝนหลวง รวมทั้งห้องทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเปิดบริการให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมในวันและเวลาราชการ อีกด้วย